จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20) ต้องเตรียมอะไรบ้าง

04/24/2017 11:17 AM SME Company

การจด VAT ต้องทำอย่างไร วันนี้ผมขอมาแชร์ข้อมูลแบบสรุปให้ได้อ่านกันกับการเตรียมเอกสารในการจดภาษีมูลค่าเพิ่มแบบเข้าใจง่ายและไปรอบเดียวจบงานเลยนะครับ

vat

สำหรับเอกสารการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20) ตรงนี้ ส่วนของเนื้อหานี้เป็นการจัดทำโดยขอในนามนิติบุคคล (บริษัท) นะครับ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า หากธุรกิจใดมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท จะต้องเข้าระบบ VAT นี้ โดยการจัดการนี้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นหลังการจัดตั้งบริษัทแล้วเสร็จ

ในส่วนของเอกสารการเตรียมไม่ยากสักทีเดียวแต่ต้องละเอียดนิดนึง โดยเฉพาะที่อยู่การจัดตั้งซึ่งจะซับซ้อนเล็กน้อย นอกนั้นก็ง่ายๆไม่มีอะไรให้ปวดหัว

เอกสารที่ต้องใช้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20)

  1. สำเนาที่ตั้งบริษัท
    • ส่วนนี้ให้ดูให้ละเอียดนะครับ ผมขอยกเป็น 2 กรณีคือ การเช่าพื้นที่จากผู้อื่น กับ การใช้พื้นที่ของหุ้นส่วนในการจัดตั้งโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
      • การเช่าพื้นที่ผู้อื่น – ให้เตรียมสำเนาสัญญาการเช่า, สำเนาทะเบียนบ้านของสำนักงาน, สำเนาบัตรประชาชนผู้ให้เช่า, สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ให้เช่า
      • การใช้พื้นที่ของหุ้นส่วนในการจัดตั้งโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย – กรณีนี้จะง่ายหน่อยเพียงแค่ทำหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่, สำเนาทะเบียนบ้านของสำนักงาน, สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของพื้นที่
    • สาเหตุที่บอกว่าส่วนนี้ต้องดูให้ละเอียด เพราะว่าทางผมเคยยื่นเองกับ 2 บริษัทที่ทำอยู่ ต้องวนกลับมาเตรียมเอกสารส่วนนี้หลายรอบเลย โดยเฉพาะถ้าเราเช่าสำนักงานจากบุคคลอื่นตรงนี้ต้องให้ครบ
  2. แผนที่ตั้งบริษัท – ส่วนนี้วาดให้พอเข้าใจง่าย ถ้าจะให้ดีเป็นภาพกราฟฟิก (ผมยังไม่เคยทำเป็นภาพวาดจากปากกา จึงไม่แน่ใจว่าใช้ได้หรือไม่)
  3. ภาพถ่ายสำนักงาน – ภาพถ่ายหน้าออฟฟิศ ที่มีชื่อบริษัท และ บ้านเลขที่ อยู่ข้างหน้าอย่างชัดเจน
    • กรณียังไม่มีป้ายชื่อ,เลขที่ ให้ปริ้นใบใหญ่ๆมาติดไว้เพื่อถ่ายภาพได้เช่นกัน
  4. หนังสือมอบอำนาจ – ตรงนี้ไว้ใช้กรณีเราให้ผู้อื่นไปยื่นให้ แต่ส่วนนี้ผมไม่เคยทำนะครับ เนื่องจากไปยื่นเอง
  5. สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน ของ กรรมการทุกคน
  6. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทพร้อมวัตถุประสงค์
  7. ฟอร์มที่กรอกแล้วของ ภ.พ.01 และ ภ.พ.01.1 (จำนวน 3 ชุด)

ยื่นเอกสารที่สรรพากรไหน

หลังจากนั้นก็ไปยื่นเอกสารที่สรรพากร ตรงนี้จากที่เคยไปจะไปยื่นที่สรรพากรพื้นที่ของพื้นที่ตั้งของสำนักงานเราเลยนะครับ
(ถ้าไม่มั่นใจให้ กรณีอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ เซิร์สคำว่า สรรพากร ตามด้วย เขต/อำเภอ ของท่าน , ถ้าพื้นที่ต่างจังหวัด จากประสบการณ์สามารถยื่นที่สรรพากรในแต่ละที่ได้เลย)

เมื่อเราทำการยื่นเอกสารเสร็จครบถ้วน ก็ทำการรอใบ ภ.พ.20 ซึ่งจะส่งมายังออฟฟิศของเราเลย โดยรอประมาณ 1-2 สัปดาห์ก็น่าจะมาถึงเรียบร้อย

หากเราต้องการใช้เอกสารนี้ไว้ทำธุรกรรมกับเอกชนหรือราชการก่อนระหว่างนี้ สามารถใช้เอกสาร ภ.พ.01 / ภ.พ.01.1 ในการเป็นเอกสารแทน ภ.พ.20 ได้เลยนะครับ และค่อยใช้ ภ.พ.20 ยื่นกับคู่ค้าในภายหลังอีกที

ขั้นตอนง่ายๆมีเพียงเท่านี้สำหรับการเตรียมเอกสารยื่นจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจากการตรวจข้อมูลแล้ว เอกสารข้างต้นเกือบจะเป็นชุดเดียวกับกรณีของบุคคลธรรมดายื่นจดภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นกัน\

** จากข้อมูลที่ไม่แน่ชัด (จากเพื่อนที่ดำเนินการเอกสารให้) แจ้งว่า สรรพากรอยากจะพบกรรมการในการยื่นของภาษีมูลค่าเพิ่มนะ ซึ่งจะทำให้เอกสารผ่านง่ายกว่าใช้มอบอำนาจให้ดำเนินการ ซึ่งข้อมูลนี้ไม่ 100% นะครับ ส่วนตัวแล้วยอมเสียเวลาไปเองเพื่อที่จะได้จบในรอบเดียวเลย ไม่ต้องปวดหัวกับปัญหาที่อาจจะเจอ

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับผู้สอบถามเข้ามาเกี่ยวกับ “การจดแวท”

  • สถานประกอบการ สรรพากร จะเข้ามาตรวจไหม – ไม่มาตรวจนะในตอนที่เรายื่น แต่สรรพากรมีสิทธิ์ที่จะเข้าไปตรวจสถานที่ประกอบการ ถ้าหากสงสัยว่ามีการประกอบการจริงหรือไม่ ผู้เขียนก็เคยถูกตรวจสอบ แม้ว่าจะไม่ได้พบให้ฝ่ายบัญชีได้คุย แต่ก็ไม่เกิดปัญหาใดๆ เนื่องจากสามารถอธิบายการทำงานของเราได้ทั้งหมด
  • ต้องเซนสำเนาถูกต้องทั้งหมดหรือไม่ – ต้องเซนกำกับทุกใบโดยให้ผู้มีอำนาจลงนามในการเซนนะครับ

Kuntana A.

อดีตผู้ลองทำอะไรเยอะแยะไปหมด ^^ แต่ปัจจุบันคงเหลือแค่ Kingkong Premium (รับทำของพรีเมี่ยม ของแจกทุกชนิด), Friday Fabric (รับทำเสื้อ) และทำนำเข้าสินค้าจากจีนเล็กๆกับภรรยา ติดตามเราในช่องทางอื่นได้ที่ FB: kuntanaang และ Twitter : @kuntanaang

More Posts

Follow Me:
TwitterFacebook

ฝากกดไลก์ กดติดตามเพจของเราได้นะครับ
และถ้าแบรนด์สินค้าและบริการใด อยากให้เราได้ใช้บริการอะไร หรือได้ลองสินค้าตัวไหน ก็ส่งมาได้นะ ^^ มันอาจจะเป็นบล็อคที่เงียบเหงา ผู้ติดตามไม่น้อย แต่ผู้เขียนรู้เทคนิคการเขียนบทความให้ติดอันดับ SEO ได้นะครับ ฉะนั้นอาจเป็นจุดแข็งที่คุณอาจสนใจเราก็เป็นได้
(แฟนเพจร้างนะ ไม่ได้อัพเดทอะไรเลย)