Food Delivery เมื่อร้านอาหารอยู่บนมือถือของเรา

ยุคที่มือถือครองเมืองจะทำอะไรก็สามารถทำได้ไม่เว้นแม้กระทั่ง “สั่งอาหาร” ที่ถึงวันนี้ร้านอาหารไม่ถูกจำกัดแค่ร้านอาหารชื่อดัง แต่กลายเป็นร้านอาหารอะไรก็ได้ ไม่เว้นแม้แต่ Street Food

ขอเล่าย้อนกลับไปเมื่อปีสองปีก่อนสักหน่อย ที่ได้ไปเดินดูงานหนึ่งที่ประเทศจีน และพบกับสิ่งที่แปลกตาอย่างหนึ่งคือ เห็นคนขี่จักรยานสีเขียว สีเหลือง ฺสีแดงมากมายบนท้องถนน ซึ่งเป็นยูนิฟอร์มที่ทำให้ผมคุ้นตาอย่างมาก

Waimai

ไม่เพียงเท่านี้พอเดินเข้าห้าง เข้าร้านกาแฟท้องถิ่น ร้านกาแฟชื่อดัง ร้านอาหาร Fast Food ก็เห็นพวกที่ใส่ยูนิฟอร์มเหล่านั้นอยู่ตลอด

จนสุดท้ายแล้วได้ค้นพบคำตอบในที่สุด นั้นก็คือ ธุรกิจรับซื้ออาหารส่งตามสถานที่นั่นเอง (หรือเข้าใจง่ายๆคือ Food Delivery นั่นเอง)

โดยแบรนด์ตามสีต่างๆ ผมได้ตามไปจดชื่อบริษัทของเขาเหล่านี้ในเวลาใกล้เคียงกัน เช่น ชุดสีแดง คือ Baidu Waimai และชุดสีเหลืองคือ Meituan Waimai

ผมจำได้ว่ากลับมาประเทศไทยได้ไม่นาน ก็ได้ข่าวขึ้นมาทันทีว่า Line Man ประกาศเปิดตัวอย่างเป็นทางการ เสมือนโมเดลธุรกิจที่ไปเจอที่ประเทศจีนนั่นเอง

แต่หากค้นข้อมูลกันแล้วก็คงต้องบอกว่า ก่อนที่ Line Man จะเปิดตัว Food Panda ได้บุกเบิกตลาดบริการสั่งอาหารส่งถึงบ้านมาก่อนหน้านี้แล้ว เพียงแต่ว่า ไม่ได้ใช้มือถือ (Mobile) นำ แต่เป็นการสั่งทางโทรศัพท์เป็นหลัก (และมาสู่การใช้โมบายในภายหลัง)

Food Delivery เจ้าไหนให้บริการบ้าง

  • Line Man เจ้าแรกของผมที่ได้ลองใช้บริการ ตั้งแต่วันแรกที่เปิดตัวได้ลองใช้ “ข้าวหมูแดงสีมรกต” หมูแดงย่านหัวลำโพงที่อยากกลับไปกินอีกครั้งแต่ไม่มีโอกาสสักที สำหรับค่าบริการเรียกรถเท่าที่จำได้ผมมองว่าคุ้มค่าเสียเวลาพอสมควร จากประสบการณ์ที่ได้ลองมาแล้ว 3-4 ครั้ง ไลน์แมนตอบโจทย์คนเมืองสุดๆ
    • ร้านชื่อดังอยู่ในแอฟนี้มหาศาล ร้านที่ผมชื่นชอบและอยากกลับไปกินอีกครั้งอยู่ในนี้หมด แน่นอนว่าเจ๋ง!!
  • Food Panda จริงๆเจ้านี้เข้ามาบุกตลาดนานแล้ว ซึ่งผมไม่มีโอกาสได้ใช้งานเลยแม้แต่ครั้งเดียว ปัจจุบันก็มี Application ให้ลองใช้งานอยู่เหมือนกัน
    • จากการลองค้นหาร้านในมือถือ พบว่ามีร้านอยู่ในฐานข้อมูลอยู่มากพอสมควร
  • UberEats สำหรับชื่อดังที่มาท้าชนเจ้านี้ ผมคงต้องบอกว่าไม่ธรรมดา เพราะในช่วงนึง บริเวณออฟฟิศผมย่านราชเทวี ผมได้เห็นพนักงานใส่ชุด UberEats นั่งสแตนท์บายรอรับงานอยู่บ่อยมาก เห็นบ่อยจนจำขึ้นใจเลยว่า Uber บุกมาตลาดนี้แล้ว แต่ก็เช่นกันว่า ผมยังไม่เคยได้ลองมันสักทีอีกนั่นแหละ!

ค่าบริการของ Food Delivery คิดอย่างไร

สำหรับค่าบริการนี้จะเป็นการคิดค่าอาหารตามใบเสร็จจริง และ ค่าบริการในการขนส่ง ซึ่งค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับระยะทางนั่นเอง

สรุป Food Delivery

ทั้งหมดนี้เป็น 3 รายใหญ่ที่บุกตลาด Food Delivery on mobile นำตลาดในกลุ่มของบริการจัดส่งอาหารถึงบ้านและสำนักงานออฟฟิศพวกเรา แต่ก็ไม่ได้หมดไปเพียงแค่นี้เพราะยังมีรายย่อยอื่นๆ เช่น Ginja, chefsXP ที่จะรอวันออกมาเบียดกับรายใหญ่ในอนาคต

สำหรับในมุมของผม จากการได้ใช้งานมาหลายครั้ง คงกล้าพูดเลยว่า ธุรกิจนี้เพิ่มความสะดวกสบายให้ตัวเราเองได้อย่างมหาศาล และเชื่อว่าจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆไปอีกนาน

และแน่นอนว่า งานนี้ วิน-วิน-วิน ถึงสามฝ่าย เพราะคนอยากกินก็สบายไม่ต้องเดินทาง – คนขายก็สบายมีลูกค้าเพิ่มขึ้น – แมสเซนเจอร์ก็ยิ้มเมื่อมีช่องทางทำรายได้เพิ่มอีก 1 ทาง

พิมพ์เสร็จก็อดไม่ได้ที่จะหาอะไรกินสักหน่อย …

 

 

Kuntana A.

อดีตผู้ลองทำอะไรเยอะแยะไปหมด ^^ แต่ปัจจุบันคงเหลือแค่ Kingkong Premium (รับทำของพรีเมี่ยม ของแจกทุกชนิด), Friday Fabric (รับทำเสื้อ) และทำนำเข้าสินค้าจากจีนเล็กๆกับภรรยา ติดตามเราในช่องทางอื่นได้ที่ FB: kuntanaang และ Twitter : @kuntanaang

More Posts

Follow Me:
TwitterFacebook

ฝากกดไลก์ กดติดตามเพจของเราได้นะครับ
และถ้าแบรนด์สินค้าและบริการใด อยากให้เราได้ใช้บริการอะไร หรือได้ลองสินค้าตัวไหน ก็ส่งมาได้นะ ^^ มันอาจจะเป็นบล็อคที่เงียบเหงา ผู้ติดตามไม่น้อย แต่ผู้เขียนรู้เทคนิคการเขียนบทความให้ติดอันดับ SEO ได้นะครับ ฉะนั้นอาจเป็นจุดแข็งที่คุณอาจสนใจเราก็เป็นได้
(แฟนเพจร้างนะ ไม่ได้อัพเดทอะไรเลย)