กว่างโจว 2018 เมื่อเมืองจีน(ไม่)เหมือนเดิม

05/09/2018 3:14 PM Travel

กว่างโจว 2018 ของผมเป็นครั้งที่ 3 โดยห่างจากครั้งแรกตอนปี 2010 ที่เมืองนี้ได้รับเป็นเจ้าภาพเอเชี่ยนเกมส์ 2010 วันนั้นต่างจากวันนี้อย่างไร มีอะไรที่พิเศษน่าสนใจ และอะไรที่ประเทศจีนที่ผมอยากจดบันทึกมันไว้

เมืองกว่างโจว ครั้งที่ 3 ของผม

หลังจากไปครั้งแรกเมือปี 2010 เพื่อไปมองหาอะไรสักอย่างกลับมาลุยธุรกิจแต่วันนั้นก็ยังหาไม่เจอ และยังเด็กไปที่จะมองของพวกนี้ เพราะจำนวนสั่งซื้อค่อนข้างสูงจนไม่กล้าเริ่มต้น

ถัดมาครั้งที่สองก็คือ 2016 หรือเมื่อสองปีที่แล้ว ที่ไปพร้อมกับความหวังอีกครั้งในการจะนำของมาขายในงานแฟร์ที่ใหญ่ที่สุดงานหนึ่งของโลก “กว่างโจว แฟร์” ที่มีจัดปีละ 2 ครั้งและจัดทุกๆปี แต่รอบนั้นก็ได้แค่เดินผ่านๆ มองผ่านๆไม่ได้อะไรกลับมาเช่นเดิม

รอบที่สาม รอบนี้ไปมาพร้อมเป้าหมายมากมาย และได้เจออะไรมากมายเช่นกัน วันนี้เลยอยากจะบันทึกไว้สักนิดว่า “เมืองจีน” เวลานี้ต่างจากเดิมหรือไม่กับครั้งแรกของผมเมื่อ 8 ปีก่อน

ห้องน้ำจีนสกปรกเหมือนเดิมไหม

จริงๆผมพลาดมากกับการใช้ห้องน้ำที่จีนอย่างมาก เพราะว่า รอบนี้ระวังตัวสุดขีดกับการกิน ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุอยากปวดหนักนอกเส้นทาง เลยไม่มีโอกาสได้เชคละเอียดๆกับห้องน้ำ (ด้วยเหตุผลที่สองของผมคือ เข่าผมอยู่ระหว่างการรักษาจากอาการเอ็นไขว้หน้าขาด จึงนั่งยองๆไม่ได้)

แต่จากการส่องห้องน้ำที่เจอทั้งในงานแสดงสินค้า (กว่างโจวแฟร์, ห้างต่างๆ) ถือว่ายังไม่ต่างจากเดิมมาก ไม่อยากใช้คำว่าสกปรก เพียงแต่ว่าอาจจะไม่ถูกใจที่สุดสำหรับหลายๆคน แต่ถือว่าดีขึ้นเรื่อยๆทีละนิดๆ

ความทันสมัยของกว่างโจวเทียบกับกรุงเทพฯ

สิ่งนี้คือความน่าสนใจของผมที่ได้มีโอกาสใช้บริการหลายๆบริการผ่านต่าง Application หรือได้เดินเห็นตามข้างทางอย่างน่าสนใจ

  • Food Delivery (คล้าย Lineman) มหาศาลมาก ผมเคยเขียนไว้ในบล็อกแห่งนี้เมื่อสองปีก่อน โดยปัจจุบัน Meituan Waimai ถือเป็นเจ้าที่เห็นบ่อยมากๆในเมืองแห่งนี้ ต้องยืนยันอีกหลายรอบว่า Food Delivery ถือเป็นบริการที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมอย่างมากของคนจีนเลยทีเดียว โดยปัจจุบันมีผู้บริการเด่นๆอยู่เพียง 2-3 เจ้า แต่เจ้าจิงโจ้เหลือ อย่าง Meituan Waimai ผมคาดคะเนจากสายตาให้เป็นเบอร์หนึ่งเลย
  • จักรยานให้เช่า เมืองไทยก็น่าจะคุ้นเคยกันกับ OFO ที่ผู้ให้บริการมาลองเปิดในไทยกันแล้ว แต่ว่าที่นี้ถือว่านิยมพอสมควร และเห็นจักรยานให้บริการอยู่ทั่วเมืองจริงๆ มีหลายยี่ห้อนอกจาก OFO แล้วก็มี Mobike ที่แบรนด์นี้ก็มาไทยแล้วเช่นกัน
  • บริการเรียกแท๊กซี่ และรถให้บริการ (คล้าย Grab,Uber) เช่นเดียวกันผมก็ได้โอกาสลอง App นี้จากน้องและญาติในเมืองนี้ที่ลองกดมาให้ ซึ่งถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดี ค่าบริการจะมีหลายแบบแพงกว่าเรียก Taxi อยู่เล็กน้อย
  • บริการให้เช่าร่มในรถไฟใต้ดิน ถือว่าต่างแต่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้กับการให้เช่าร่ม ซึ่งผมไม่ทราบราคาของการใช้บริการ แต่ก็มีตู่ให้กดเช่าเช่นกันโดยตั้งอยู่ในบริเวณรถไฟใต้ดินทุกสถานี แต่เอาจริงแล้วร่มของเมืองนี้ไม่ได้หายากจนเกินไป เดินไปตรงไหนก็มีขาย เลยไม่รู้ว่าร่มให้เช่าจะมีไว้ทำไม

Alipay – Wechatpay คือทุกสิ่งของเมืองนี้

ก่อนไปภรรยาของผมเป็นคนที่ใช้งาน WeChat มาอยู่บ้างแล้วในการคุยกับคนจีนในการซื้อขายสินค้ากัน จึงเป็นจังหวะที่ได้ลองใช้งานด้วยการเอาเงินใส่เข้าไปใน WeChat ได้ประสบการณ์ Cashless Society อย่างแท้จริง (การใส่เงินของผมรอบนี้ อาศัยขอให้ทางญาติภรรยาโอนมาให้ โดยจ่ายเงินสดให้เขาแทน ซึ่งยังไม่ทราบวิธีการเอาเงินเข้าเองในเวลานี้)

การใช้เงินแบบ Cashless Society เข้าถึงทุกหย่อมหญ้าของประเทศนี้ เมืองนี้อย่างเลี่ยงไม่ได้ ระบบที่รองรับไม่ว่าจะเป็นสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ตลอดจนร้านค้าข้างทาง แท็กซี่ เรียนรู้และใช้ระบบการชำระเงินไปเรียบร้อยแล้ว เป็นที่นิยมมากพอสมควร

ซึ่งเอาจริงว่า การใช้งานด้วยระบบนี้ ทำให้เราลืมข้อกังวลของการพกเหรียญอะไรเยอะแยะได้มหาศาลเลย เพราะแทบจะไม่ต้องไปสัมผัสแบงก์และเหรียญของจีนเลย

แท็กซี่จีน ไม่กดมิเตอร์ (แค่บางคัน)

เรื่องเล่าสุดท้ายของภาคแรกของผมรอบนี้ ก็คือ แท็กซี่ ที่เมืองนี้มีทั้งกดมิเตอร์และไม่กดมิเตอร์ … เราจะได้ความรู้สึกนี้ไม่ต่างกับการไปยืนหน้ามาบุญครองเลย หากเราไม่ใช่คนจีน โอกาสที่จะโดนเรียกแบบเหมาก็มีไม่น้อย แต่ก็มีแท็กซี่ที่คิดตามมิเตอร์อยู่จำนวนไม่น้อย จากการใช้งานของผมมากกว่า 10 ครั้ง ก็ตีเป็น 80% คือการใช้แบบมิเตอร์

แต่ให้คิดไว้เลยว่า ถ้าฝนตก, หลังเลิกงานอีเว้นท์ อย่าได้หวังว่าจะได้แท็กซี่ที่ใช้มิเตอร์ เพราะพี่จีนเขาเหมาทุกคัน และเหมาราคาสูงมาก ใช้รถไฟใต้ดินจะดีที่สุด

ขณะเดียวกัน การกลับไปสนามบินของผม ก็เจอเรียกเหมาเช่นกัน แต่ผมโชคดีมากที่รถที่เหมาผมดันเหมาราคาไม่ต่างอะไรกับรอบที่ผมมา บวกลบตัวเลขแล้วขามาที่กดมิเตอร์มาที่พัก กับขากลับที่โดนเหมา จ่ายค่าแท็กซี่เท่ากัน สบายเลยไม่โดนโคกราคา

ทั้งหมดนี้ข้างต้นคือ กว่างโจว 2018 ภาคแรกของผม เดี๋ยวผมจะมาต่อเรื่อยๆ จากประสบการณ์ 8 วันในรอบนี้ที่เจออะไรชื่นชอบอะไรบ้างในเมืองจีนแห่งนี้

Kuntana A.

อดีตผู้ลองทำอะไรเยอะแยะไปหมด ^^ แต่ปัจจุบันคงเหลือแค่ Kingkong Premium (รับทำของพรีเมี่ยม ของแจกทุกชนิด), Friday Fabric (รับทำเสื้อ) และทำนำเข้าสินค้าจากจีนเล็กๆกับภรรยา ติดตามเราในช่องทางอื่นได้ที่ FB: kuntanaang และ Twitter : @kuntanaang

More Posts

Follow Me:
TwitterFacebook

ฝากกดไลก์ กดติดตามเพจของเราได้นะครับ
และถ้าแบรนด์สินค้าและบริการใด อยากให้เราได้ใช้บริการอะไร หรือได้ลองสินค้าตัวไหน ก็ส่งมาได้นะ ^^ มันอาจจะเป็นบล็อคที่เงียบเหงา ผู้ติดตามไม่น้อย แต่ผู้เขียนรู้เทคนิคการเขียนบทความให้ติดอันดับ SEO ได้นะครับ ฉะนั้นอาจเป็นจุดแข็งที่คุณอาจสนใจเราก็เป็นได้
(แฟนเพจร้างนะ ไม่ได้อัพเดทอะไรเลย)